วันอาทิตย์ที่ 12 มกราคม พ.ศ. 2557

ศึกต่างๆในสามก๊ก(ดังดัง)

ผมไม่ได้เรียงนะครับ

    ศึกอิเหลง(Battle of Xiaoting)เป็นสงครามที่เกิดขึ้นในปี ค.ศ.222 โดยเป็นการรุกรานของจ๊กก๊กต่อง่อก๊กโดยพระเจ้าเล่าปี่นำทัพเพื่อล้างแค้นให้กับกวนอูและเตียวหุย โดยมีกวนหินและเตียวเปาลูกชายกวนอูและเตียวหุยร่วมรบด้วย และในศึกครั้งนี้ ขงเบ้ง ไม่ได้มาร่วมรบด้วยส่วนง่อก๊กนำโดยลกซุนแม่ทัพหนุ่มผู้เก่งกาจผลปรากฏว่าลกซุนได้ใช้ให้ทหารนำไฟไปเผาค่ายกองทัพจ๊กก๊ก จนในที่สุดทัพจ๊กก๊กก็แตกพ่ายยับเยินไป พระเจ้าเล่าปี่หนีอย่างทุลักทุเลไปพร้อมกับกวนหินและเตียวเปา แต่ก็โดนกองทัพฝ่ายง่อก๊กนำโดยจูเหียนมาล้อมรอบ ในที่สุดจูล่งได้ตีฝ่าทัพง่อก๊กไปช่วยพระเจ้าเล่าปี่ได้ในที่สุด และสงครามครั้งนี้เป็นสงครามครั้งสุดท้ายในพระชนม์ชีพของพระเจ้าเล่าปี่ เมื่อพระเจ้าเล่าปี่พ่ายแพ้กลับมาก็อับอายที่แก้แค้นให้กวนอูและเตียวหุยผู้เป็นน้องไม่ได้ ก็ประชวรหนักแล้วก็สิ้นพระชนม์ โดยมีอายุ 63 ปี ครองราชย์ได้ 3 ปี




       ศึกทุ่งพกบ๋อง หรือ ศึกเนินพกบ๋อง เป็นการศึกในวรรณกรรมเรื่องสามก๊ก เมื่อ ค.ศ. 202 และเป็นการศึกครั้งแรกของขงเบ้งที่แสดงฝีมือให้เห็นประจักษ์ทุ่งพกบ๋อง          (ปัจจุบันอยู่ในมณฑลเหอหนาน) เป็นช่องเขาหลังเมืองซินเอี๋ย เป็นช่องทางหนึ่งที่จะเข้าเมืองได้ เป็นทางแคบ ทางซ้ายเป็นเขา ชื่อ เขาอีสัน ทางขวาเป็นป่าชื่อ ป่าอันหลิม เมื่อแฮหัวตุ้นยกทัพเรือนแสนมาหมายจะขยี้เมืองซินเอี๋ย และตั้งทัพอยู่ห่างจากเมืองเพียง 40 ลี้ ขงเบ้งได้รับกระบี่อาญาสิทธิ์จากเล่าปี่ ให้บัญชาการทัพได้เต็มที่ ขงเบ้งได้มอบหมายให้เล่าปี่และจูล่งยกทัพไปสู้กับแฮหัวตุ้นซึ่ง ๆ หน้า แต่ต้องแสร้งแพ้เพื่อล่อให้แฮหัวตุ้นยกทัพตามเข้ามาในทุ่งพกบ๋อง เพื่อที่กวนอูและเตียวหุยที่ซ่อนทัพในป่าและเขาด้านข้างใช้ไฟเผาทั้งเป็นตามแผนโดยแต่แรกนั้น กวนอูและเตียวหุยไม่เชื่อมั่นในตัวขงเบ้ง แต่เมื่อแผนการนี้สำเร็จ ทหารของแฮหัวตุ้นเสียชีวิตในการนี้หลายหมื่นคน กวนอูและเตียวหุยก็ได้ให้ความมั่นใจและศรัทธาในตัวขงเบ้ง และหลังจากนั้นไม่นาน โจโฉก็ยกทัพหลวงมาเองเพื่อที่จะแก้แค้นในการศึกนี้ โดยให้โจหยินเป็นแม่ทัพใหญ่ ยกไปที่เมืองซินเอี๋ย ซึ่งขงเบ้งก็ใช้อุบายทำให้เมืองซินเอี๋ยเป็นเมืองร้าง และใช้ไฟเผาทัพของโจโฉอีกครั้ง เมื่อทหารที่หนีรอดมาได้ก็ถูกน้ำซัดอีกครั้ง จากกวนอูที่ทลายเขื่อนกั้นแม่น้ำแปะโห ศึกนี้เรียกกันว่า ไฟเผาซินเอี๋ยการศึก 2 ครั้งนี้เป็นสิ่งพิสูจน์ให้ประจักษ์ว่า ขงเบ้ง เป็นแม่ทัพที่เหนือแม่ทัพคนอื่น ๆ เพราะสามารถใช้พลังธรรมชาติ อันได้แก่ ไฟและน้ำ มาเป็นประโยชน์ในการทำลายทัพเรือนแสนได้ โดยไม่ต้องสูญเสียทหารฝ่ายตนมากนัก และอีกครั้งที่ขงเบ้งใช้เงื่อนไขของพลังธรรมชาติ คือ หมอกและลม คราวศึกเซ็กเพ็ก ซึ่งเกิดขึ้นหลังจากนี้ จึงเป็นที่มาของฉายา "ผู้หยั่งรู้ดินฟ้ามหาสมุทร"



      ศึกสะพานเตียงปันเกี้ยวเป็นหนึ่งในสงครามสามก๊ก เป็นสงครามครั้งยิ่งใหญ่อีกครั้งของเล่าปี่และโจโฉ ศึกสะพานเตียงปันเกี้ยวเกิดขึ้นภายหลังจากเล่าเปียวเจ้าเมืองเกงจิ๋วเสียชีวิต โจโฉเตรียมกำลังทหารหวังยึดครองเกงจิ๋ว ขงเบ้งจึงแนะนำให้เล่าปี่อพยพจากเมืองซินเอี๋ยไปยังเมืองอ้วนเซียเพื่อป้องกันการรุกรานของโจโฉ แต่ถูกกลอุบายของขงเบ้งให้จูล่งลอบเผาเมืองซินเอียจนแตกทัพ



   กบฏโพกผ้าเหลือง เป็นกลุ่มผู้ก่อการกบฏประมาณ 1,000,000 คนใน ค.ศ. 184205 ในจักรวรรดิจีน มีจุดมุ่งหมายเพื่อล้มล้างราชวงศ์ฮั่น เหตุที่เรียกว่ากบฏโพกผ้าเหลืองนั้น เพราะกลุ่มผู้ก่อการกบฏเหล่านี้ต่างโพกผ้าเหลืองเป็นสัญลักษณ์ทุกคน เหตุการณ์นี้เกี่ยวข้องกับสมาคมผู้ที่นับถือลัทธิเต๋าแบบไท่ผิง และเป็นประวัติศาสตร์จุดหนึ่งที่สำคัญในลัทธิเต๋าในวรรณกรรมจีนอิงประวัติศาสตร์เรื่องสามก๊ก มีการปรากฏของเหตุการณ์กบฏโพกผ้าเหลืองในเรื่อง เรียกว่า โจรโพกผ้าเหลือง ในฉบับเจ้าพระยาพระคลัง (หน) ซึ่งกลุ่มนี้ก่อตั้งขึ้นโดยเตียวก๊ก



       ศึกปราบตั๋งโต๊ะ เป็นหนึ่งในสงครามที่สำคัญในยุคสามก๊กสงครามครั้งนี้ได้เกิดขึ้นเมื่อโจโฉได้ส่งสาส์นไปยังเมืองต่างๆให้มาช่วยรบ เป็นกองทัพผสมในการปราบจอมทรราชตั๋งโต๊ะที่กำลังสร้างความวุ่นวายในราชสำนักด้วยการปลดห้องจูเปียนออกจากราชสมบัติและตั้งห้องจูเหียบ พระราชอนุชาขึ้นเป็นพระเจ้าเหี้ยนเต้




         ศึกสะพานจีเกี้ยว  เป็นหนึ่งในศึกสงครามในสามก๊ก เป็นสงครามครั้ง ยิ่งใหญ่และเป็นศึกครั้งแรกที่เจ้าเมืองที่มีอำนาจสองแคว้นเข้าต่อสู้ทำศึกสงคราม เพื่อแย่งชิงพื้นที่จุดยุทธศาสตร์สำคัญทางภาคเหนือในแถบมณฑลกิจิ๋วและมณฑลเฉงจิ๋ว และกลายเป็นชนวนสำคัญในการนำไปสู่จุดจบการปกครองของราชวงศ์ฮั่นศึก จีเกี้ยว หรือ ศึกสะพานจีเกี้ยว (Battle of Jie Bridge) หรือสะพานศิลา เป็นการศึกระหว่างอ้วนเสี้ยวและกองซุนจ้านในปี 192 AD ในตอนต้นของสมัยที่เกิดสงครามระหว่างเจ้าเมืองด้วยกันหรือก่อนช่วงสามก๊ก ซึ่งสงครามระหว่างเจ้าเมืองด้วยกันนี้นำไปสู่จุดจบของราชสำนักฮั่นศึกครั้งนี้เป็นศึกครั้งใหญ่ครั้งแรกที่เจ้าเมืองที่มีอำนาจสองคนต่อสู้กัน เพื่อแย่งชิงดินแดนภาคเหนือ ในแถบมณฑลกิจิ๋วและเฉงจิ๋ว สมรภูมิของการรบครั้งนี้อยู่ที่ทางตะวันออกของตำบล Guangzong เมือง Julu (ปัจจุบันคือ Weixian เมือง Hebei)ปี 191 โจรผ้าเหลืองแห่งมณฑล เฉงจิ๋ว ออกปล้นเมือง Bohai ด้วยจำนวนกว่า สามแสนคน พวกเขาวางแผนเข้าร่วมกับโจรภูเขาดำ กองซุนจ้านนำทัพกว่าสองหมื่นเข้าต่อสู้เหล่าโจร ทั้งสองฝ่ายต่อสู้กันที่ตอนใต้ของ Dongguang กองซุนจ้านเอาชนะกองโจร สามารถตัดหัวพวกโจรได้กว่าสามหมื่นคน เหล่ากบฏพากันหลบหนีไปทางแม่น้ำแยงซี กองซุนจ้านนำทัพตามพวกเขาไปทันที่ระหว่างทาง พวกกบฏพ่ายแพ้ มีคนตายหลายหมื่นคน เลือดจากการรบเปลี่ยนแม่น้ำเป็นสีแดง กองซุนจ้านจับเชลยศึกได้กว่าเจ็ดหมื่นคน ชุดเกราะ เกวียนและสมบัตินับไม่ถ้วน ชื่อเสียงของกองซุนจ้านเป็นที่รู้จักไปทั่ว อาศัยความได้เปรียบจากชัยชนะนี้ กองซุนจ้านอ้างการตายของกองซุนอวด ลูกพี่ลูกน้องของเขาประกาศสงครามกับอ้วนเสี้ยวเขานำทัพมุ่งหน้าไปทางทิศตะวันตกเฉียงใต้มาระหว่างมณฑลเฉงจิ๋วและแม่น้ำเหลือง เคลื่อนพลเข้าสู่มณฑลกิจิ๋ว แล้วไปตั้งค่ายที่ริมแม่น้ำพวนโห้ เขาส่งบันทึกความผิดและความประพฤติมิชอบของอ้วนเสี้ยวไปที่ศาล และนำกองทัพเข้าโจมตีอ้วนเสี้ยวหลายหัวเมืองของมณฑล กิจิ๋ว ก่อกบฏต่อต้านอ้วนเสี้ยวเพื่อสนับสนุนกองซุนจ้าน อ้วนเสี้ยวกลัวมาก เขามีตราตั้งเจ้าเมือง Bohai เขาจึงส่งตราประจำตำแหน่งนั้นให้แก่ Gongsun Fan ลูกพี่ลูกน้องอีกคนของกองซุนจ้าน ส่งเขาไปประจำการที่นั้น แต่ Gongsun Fan ได้ต่อต้านอ้วนเสี้ยว นำทหารเมือง Bohai เข้าช่วยเหลือกองซุนจ้านในที่สุด อ้วนเสี้ยวก็นำทัพด้วยตัวเองมาเผชิญหน้ากับทัพกองซุนจ้านทางตอนใต้ของสะพานจีห่างไปยี่สิบลี้ ทัพของกองซุนจ้านนั้นน่าจะมีกำลังพลสี่หมื่นคน แบ่งเป็นพลเดินเท้า สามหมื่นคนและทหารม้าหนึ่งหมื่นคน กองซุนจ้านจัดทัพพลเดินเท้าของเขาเป็นรูปสี่เหลี่ยม แล้วแบ่งทหารม้าออกเป็นสองกองเป็นปีกซ้ายและขวาของกองทัพ ส่วนตรงกึ่งกลางทัพนั้น เขาจัดกองกำลังม้าขาว (白馬義從) ซึ่งเป็นกองกำลังส่วนตัวของเขา ซึ่งเป็นทหารม้าที่คัดสรรมาเป็นอย่างดี และมีชุดเกราะและธงศึกที่น่าเกรงขาม แม้ว่ากองทัพของอ้วนเสี้ยวจะมีขนาดพอ ๆ กัน แต่ทัพของอ้วนเสี้ยวเกือบทั้งหมดเป็นพลเดินเท้า อ้วนเสี้ยวให้ แม่ทัพจ๊กยี่นำทหารแปดพันคน และพลธนูหนึ่งพันคนเป็นทัพหน้า และหลังทัพหน้านั้นเป็นกองทหารจำนวนหลายหมื่น ซึ่งอ้วนเสี้ยวบัญชาการด้วยตัวเองเมื่อกองซุนจ้านสังเกตว่า ทัพหน้าของอ้วนเสี้ยวนั้นกระจายกำลังออกไป มีจำนวนไม่มาก เขาจึงสั่งทหารม้าให้พุ่งเข้าโจมตี มีจุดประสงค์เพื่อทำลายแนวทัพของข้าศึก เพื่อให้ทัพจ๊กยี่แตกพ่ายไป จ๊กยี่จัดทหารให้ตั้งแนวป้องกัน เตรียมพร้อมรอคอยการโจมตี ทหารของจ๊กยี่หลบอยู่หลังโล่พวกเขาไม่เคลื่อนที่ จนทหารกองซุนจ้านเข้าใกล้มาในระยะราวสิบก้าว จ๊กยี่สั่งพลธนูให้ระดมยิง ทหารให้กระโดดขึ้นแล้วตระโกนเสียงดังกึกก้องแล้วหยิบหอกขึ้นมาต่อสู้ ทำให้ทัพม้าของกองซุนจ้านตกใจ และจ๊กยี่สามารถเอาชนะทัพกองซุนจ้านได้ในที่สุดจ๊กยี่ตัดหัว ยำก๋ง ที่กองซุนจ้านแต่งตั้งเป็นผู้ตรวจการมณฑลกิจิ๋ว และฆ่าทหารกองซุนจ้านกว่าพันคน กองซุนจ้านรวบรวมทัพที่พ่ายแพ้แตกกระจายไปเข้าสู้อีกครั้ง นำหน้าโดยทหารม้าและตามด้วยพลเดินเท้า เขาพยายามที่จะรวบรวมพลและตรึงกำลังที่แนวของแม่น้ำเฉง แต่ทัพหลังของเขา ถูกทหารของจ๊กยี่โจมตีที่สะพานศิลา




ศึกกัวต๋อ เกิดขึ้นที่ริมฝั่งแม่น้ำแยงซีเกียงในปี ค.ศ. 200 เป็นศึกที่โจโฉได้ชัยชนะต่ออ้วนเสี้ยว จุดตัดสินผลการรบของศึกนี้อยู่ที่การลอบโจมตีทัพขนเสบียงของอ้วนเสี้ยวที่อัวเจ๋า ทำให้ทัพอ้วนเสี้ยวขาดเสบียงและเกิดความระส่ำระสายไปทั้งกองทัพ จากแผนการของเขาฮิว ซึ่งเดิมอยู่กับอ้วนเสี้ยว แต่มาอยู่ข้างโจโฉ เพราะคาดการณ์ว่าอ้วนเสี้ยวต่อไปจะพ่ายแพ้แน่ ทั้ง ๆ ที่เริ่มต้นกองทัพของอ้วนเสี้ยวมีมากกว่าโจโฉถึง 10:1 แต่โจโฉนำทัพอย่างใจเย็นค่อย ๆ รุกคืบ และฝ่ายอ้วนเสี้ยวก็โลเลไม่ยอมทำศึกแตกหัก จึงต้องประสบความพ่ายแพ้ในที่สุด ภายหลังศึกนี้ อ้วนเสี้ยวเสียใจมาก อีกทั้งลูกชาย 2 คน คือ อ้วนซีกับอ้วนถำก็บาดหมางถึงขนาดฆ่ากัน จนต้องกระอักเลือดชีวิตในเวลาต่อมาไม่นาน ศึกนี้นำมาสู่การล่มสลายของตระกูลอ้วน เมื่อบุคคลสำคัญ ๆ ในตระกูลได้ล้มตายหมดสิ้น อีกทั้งเป็นศึกที่โจโฉได้สร้างชื่อเสียงไว้มาก และทำให้ได้ครองอำนาจใหญ่แต่เพียงผู้เดียวในดินแดนภาคเหนือของจีน ตั้งแต่เริ่มต้นจนจบโจโฉใช้เวลาทำศึกครั้งนี้นานถึง 7 ปีในสามก๊ก เริ่มแรกจากที่เล่าปี่ได้เข้าเฝ้าพระเจ้าเหี้ยนเต้ในพระราชวัง จากที่มีความดีความชอบในการปราบตั๋งโต๊ะและลิโป้ พระองค์ทรงให้ตรวจพงศาวลี พบว่าเล่าปี่สืบสายเชื้อสายมาจากตงสานเชงอ๋องจริง จึงให้ความเคารพเล่าปี่และทรงเรียกเล่าปี่ว่า พระเจ้าอา และเชื้อเชิญให้ไปปรึกษาราชการเป็นการส่วนพระองค์ ทำให้โจโฉเกิดความระแวงในตัวเล่าปี่ อีกทั้งในเวลาเดียวกันนั้น ตังสินร่วมมือกับเกียดเป๋งหมายจะลอบฆ่าโจโฉ แต่ไม่สำเร็จ โจโฉยิ่งเพิ่มความระแวงในตัวผู้ที่อยู่ตรงกันข้าม เล่าปี่จึงตัดสินใจหนีออกจากเมืองไปเข้าร่วมกับอ้วนเสี้ยว เพื่อชักชวนให้ปราบโจโฉโจโฉได้ทำการฝังศพอ้วนเสี้ยวอย่างสมเกียรติ และได้ซื้อใจราษฎรด้วยการงดภาษีถึง 1 ปี และต่อมาได้ร่างโคลงถึงการรบในครั้งนี้ด้วย ที่เขาจรดทะเลเช่นเดียวกับฮั่นอู่ตี้ อดีตฮ่องเต้ผู้ยิ่งใหญ่ในราชวงศ์ฮั่นเคยกระทำ หลังจากชนะศึกที่นี่เช่นกันสำหรับฝ่ายเล่าปี่ นี่เป็นศึกอย่างเป็นทางการครั้งแรกที่ทำให้เล่าปี่แตกหักกับฝ่ายโจโฉอย่างสิ้นเชิง ซึ่งนับต่อจากนี้ทั้งคู่จะขับเขี่ยวกันไปตลอดและพ่ายแพ้จนต้องหนีไป ทัพจ๊กยี่บุกมาถึงค่ายของกองซุนจ้าน ยึดธงประจำตัวของกองซุนจ้าน จนทัพที่เหลือของกองซุนจ้านต้องหลบหนีไปเมื่อเห็นทัพกองซุนจ้านพ่ายแพ้หลบหนีไป อ้วนเสี้ยวจึงมุ่งหน้าไปดูสถานการณ์พร้อมกับพลธนูองครักษ์เพียงสิบคน และทหารอีกหนึ่งร้อยคน เขาไปพบกับทหารม้าสองพันคนของกองซุนจ้านโดยบังเอิญ เตียนห้องนายทหารคนสนิทของอ้วนเสี้ยว ได้แนะนำให้อ้วนเสี้ยวอาศัยกำแพงเล็ก ๆ เพื่อหลบภัย แต่อ้วนเสี้ยวกลับโยนหมวกศึกของเขาทิ้งลงกับพื้นแล้วพูดว่า ลูกผู้ชายที่แท้จริงนั้นควรที่จะยอมตายในสนามรบ การหลบไปอยู่หลังกำแพงหาใช่วิธีของลูกผู้ชายไม่ แต่ทหารม้าของกองซุนจ้านนั้นจำอ้วนเสี้ยวไม่ได้ และพวกเขาก็ถอยทัพในทันทีที่จ๊กยี่นำทัพมาถึงที่นั่น



   ศึกผาเเดง หรือ ศึกเซ็กเพ็กหรือ ศึกเปี๊ยะเชียะ หรือ ศึกชื่อปี้ เป็นสงครามที่มีความสำคัญที่สุดสงครามหนึ่งในยุคปลายราชวงศ์ฮั่นในรัชสมัยของพระเจ้าฮั่นเหี้ยนเต้ ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นของยุคสามก๊กในประเทศจีนในเวลาต่อมา ศึกผาแดงนี้เกิดขึ้นในปี พ.ศ. 751 โดยฝั่งหนึ่งเป็นกองทัพพันธมิตรของเล่าปี่และซุนกวนทางตอนใต้ และอีกฝั่งคือทัพของโจโฉทางตอนเหนือ ซุนกวนและเล่าปี่นั้นได้ชัยชนะเหนือโจโฉ ทำให้ความพยายามในการยึดดินแดนทางใต้ของโจโฉต้องล้มเหลวลง โดยจุดแตกหักเกิดขึ้น ณ ตำบลที่เรียกว่า "เซ็กเพ็ก" ริมแม่น้ำแยงซีเกียง ศึกผาแดงนี้นับว่าเป็นศึกที่มีชื่อเสียงมากที่สุดในสามก๊กและประวัติศาสตร์จีนก็ว่าได้ข้อมูลทางประวัติศาสตร์ของศึกผาแดงยังคงเป็นที่ถกเถียงมาจนถึงปัจจุบัน แม้แต่สถานที่รบยังกำหนดชี้ชัดลงไปไม่ได้ โดยคาดว่าจะอยู่ทางฝั่งใต้ของแม่น้ำแยงซี บางแห่งแถบทางตะวันออกเฉียงใต้ของเมืองอู่ฮั่นในปัจจุบันในวรรณคดี เล่าปี่ต้องทิ้งเมืองซินเอี๋ยและอ้วนเสียอพยพราษฎรจำนวนมาก เพื่อหนีการตามล่าจากโจโฉไปอยู่ที่เมืองแฮเค้าของเล่ากี๋ จากนั้นจึงส่งขงเบ้งไปเป็นทูตเจรจาขอให้ซุนกวนร่วมกันต้านโจโฉ ขณะที่โจโฉสามารถยึดเกงจิ๋วที่เดิมเป็นของเล่าเปียวได้สำเร็จ เพราะชัวมอคิดทรยศยอมยกเมืองให้โจโฉ ซึ่งภายหลังโจโฉก็สั่งสังหารเล่าจ๋องและชัวฮูหยินเสีย และประหารชัวมอและเตียวอุ๋น ตามแผนของจิวยี่ แม่ทัพใหญ่ฝ่ายง่อก๊กฝ่ายขงเบ้งเมื่อไปถึงกังตั๋ง ต้องเผชิญกับที่ปรึกษาของซุนกวนหลายคนรุมถล่มด้วยวาจา แต่สามารถโต้กลับไปได้ทุกคน ในที่สุดซุนกวนและจิวยี่ก็ตัดสินใจรบกับโจโฉเพราะถูกขงเบ้งยั่วจนเกิดโทสะ ทั้ง 2 ทัพตั้งทัพคอยประจัญบานกัน ตลอดเวลาที่ขงเบ้งอยู่ที่นี่ จิวยี่พยายามหาทุกวิถีทางที่จะหาเรื่องสังหารขงเบ้งให้ได้ แต่ขงเบ้งก็สามารถเอาตัวรอดไปได้ทุกครั้ง เช่น สั่งเกณฑ์ขงเบ้งให้ทำลูกธนูแสนดอกให้เสร็จภายใน 10 วัน แต่ขงเบ้งขอเวลาแค่ 3 วัน โดยการใช้เรือเบาบรรทุกหุ่นฟางแล่นไปหาฝ่ายโจโฉในยามดึกหลังเที่ยงคืนขณะที่หมอกลงจัด ทหารฝ่ายโจโฉจึงระดมยิงธนูเข้าใส่ แต่ก็ติดกับหุ่นฟาง ลูกธนูแสนดอกจึงได้โดยไม่ต้องออกแรงอะไร และอีกครั้งเมื่อจิวยี่ต้องการลมอาคเนย์เพื่อเผาทัพเรือโจโฉ ที่ถูกผูกเป็นแพเดียวกันด้วยอุบายของบังทอง แต่เนื่องจากเป็นฤดูหนาวไม่มีลมอาคเนย์ จิวยี่เครียดกับเรื่องนี้จนกระอักเลือดล้มป่วยลง ขงเบ้งจึงทำพิธีเรียกลมขึ้น(ขงเบ้งแสร้งทำเพื่อหนีลงเรือของจู่ลงที่มารับ) ในที่สุดเมื่อถึงวันที่ต้องแตกหัก ตรงกับวันแรม 5 ค่ำ เดือนอ้าย (ตรงกับวันที่ 10 เดือน 10 ตามปฏิทินจีน) ลมอาคเนย์ก็มา ในที่สุดก็สามารถเผากองทัพของโจโฉให้ราบคาบได้ โจโฉต้องหลบหนีไปอย่างทุลักทุเลเกือบเอาชีวิตไม่รอด และขงเบ้งก็ได้ให้กวนอูดักพบโจโฉเป็นด่านสุดท้าย เพื่อที่จะให้กวนอูไว้ชีวิตโจโฉ เพื่อล้างบุญคุณที่เคยมีต่อกันในอดีตด้วยหลังจากเสร็จสิ้นศึกนี้ ทัพซุนเล่านั้นได้ยึดดินแดนเกงจิ๋วเกือบทั้งหมด โดยทัพจิวยี่สามารถเอาชนะโจหยินยึดเมืองกังเหลงได้ ส่วนเล่าปี่นั้นได้ยึดครองดินแดนเกงจิ๋วใต้ทั้งหมด



     ศึกหับป๋า เป็นสงครามที่มีชื่อและมีความสำคัญมากอีกสงครามหนึ่งในสมัยสามก๊ก เป็นการรบกันระหว่างฝ่ายง่อที่มีจำนวนทหารมากกว่าฝ่ายวุยที่รักษาการณ์ที่หับป๋าหลายเท่า แต่กลับเป็นฝ่ายง่อที่พ่ายแพ้และถูกกดดันให้ถอยทัพกลับ ซึ่งถือว่าเป็นศึกที่สำคัญมากต่อฝ่ายวุย เพราะถ้าวุยพลาดเสียหับป๋าให้กับฝ่ายง่อ ก็เท่ากับว่าซุนกวนและกองทัพง่อสามารถเดินทัพอย่างสะดวกเข้าสู่ใจกลางของก๊กวุยและเมืองหลวงได้ผลจากสงครามครั้งนี้นั้นทำให้ ฝ่ายวุยมั่นคงปลอดภัยที่สามารถรักษาหับป๋าซึ่งเป็นเสมือนประตูสู่ดินแดนวุยได้ ถ้าฝ่ายง่อได้ชัยชนะในครั้งนี้ การที่ซุนกวนจะยกทัพเข้าบุกถึงเมืองหลวงก็มีความเป็นไปได้ เพราะว่าโจโฉได้นำทัพส่วนใหญ่ไปบุกยึดฮันต๋ง เหลือทหารไว้เฝ้าเมืองหลวงไม่มาก อย่างไรก็ดี เรื่องความสามารถของซุนกวนนั้น ในประวัติของเตียวเลี้ยวบอกไว้ว่าซุนกวนเกรงกลัวไม่กล้ามาสู้กับเขา แต่หลาย ๆ บันทึกว่าไว้ว่าซุนกวนนั้นมีความสามารถเรื่องขี่ม้า ยิงธนู กล้าหาญและมีความเป็นนักรบ เสียแต่ว่าซุนกวนไม่มีประวัติความสำเร็จในการนำทัพโจมตีเลย มีเพียงความสามารถในการป้องกันทัพโจโฉจำนวนมากที่บุกมาโจมตีทางปากแม่น้ำยี่สูก่อนหน้าศึกนี้ ซุนกวนนำทัพป้องกันได้เป็นอย่างดี จนโจโฉยังชมเชยว่า ถ้ามีบุตรต้องมีให้ได้อย่างซุนกวน



   ศึกเขาเตงกุนสัน เป็นสงครามที่เกิดเมื่อช่วงประมาณ ค.ศ. 219 (พ.ศ. 762) เป็นสงครามระหว่าง วุยก๊ก ของ โจโฉ ที่นำทัพโดย แฮหัวเอี๋ยน และ จ๊กก๊ก ของ พระเจ้าเล่าปี่ ที่นำทัพโดย จูกัดเหลียง (ขงเบ้ง) และผลของสงครามครั้งนี้วุยก๊กก็ต้องสูญเสียแฮหัวเอี๋ยนที่ถูกฆ่าโดย ฮองตง ชัยชนะของศึกเขาเตงกุนสันของฝ่ายเล่าปี่ ทำให้ยึดเมืองฮันต๋งและตั้งตนเป็นอ๋องได้สำเร็จ



    ศึกอ้วนเซีย เป็นศึกที่มีชื่อเสียงมากอีกศึกหนึ่งในสามก๊ก เป็นสงครามระหว่างจ๊กและวุย ตามด้วยสงครามระหว่างจ๊กและง่อโดยเริ่มจากกวนอูของจ๊กก๊กบุยเมืองห้วนเสียของโจหยิน อาศัยน้ำท่วมหลากชิงล้อมเมืองไว้ แต่ต่อมาโจโฉใช้ซิหลงมาช่วยโจหยิน ในขณะเดียวกันลิบองของง่อก๊กได้วางแผนชิงเมืองเกงจิ๋ว ผลสุดท้าย กวนอูพ่ายแพ้ต่อซิหลง และเมืองเกงจิ๋วถูกลิบองยึดทำให้กวนอูต้องถอยทัพอย่างรวดเร็ว และต้องจบชีวิตในที่สุด



ศึกวุยก๊กเป็นสงครามระหว่าง จ๊กก๊ก และ วุยก๊ก โดยยุคแรกจ๊กก๊กนำโดย ขงเบ้ง สงครามครั้งนี้ใช้เวลานานถึง 6 ปีก่อนที่ขงเบ้งจะสิ้นชีวิต ใน ศึกอู่จั้งหยวน และเกียงอุยได้รับช่วงต่อมา



   ศึกอู่จั้งหยวน  เป็นหนึ่งในศึกสงครามในสามก๊กจากวรรณกรรมจีนอิงประวัติศาสตร์เรื่องสามก๊ก เกิดขึ้นในระหว่างเดือนเมษายนถึงฤดูใบไม้ร่วง พ.ศ. 777 บริเวณที่ราบอู่จั้ง ในมฑณลส่านซี ศึกอู่จั้งหยวนเป็นหนึ่งในศึกสงครามการบุกทางเหนือของขงเบ้ง โดยมีขงเบ้งและสุมาอี้เป็นแม่ทัพ ซึ่งผลของศึกอู่จั้งหยวนคือวุยก๊กเป็นฝ่ายชนะ จ๊กก๊กแตกพ่ายถอยหนีและเป็นการบัญชาศึกสงครามครั้งสุดท้ายของขงเบ้งศึกอู่จั้งหยวนเกิดขึ้นจากภายหลังที่ขงเบ้งซ่องสุมเตรียมกำลังทหารและไพร่พลจำนวนมากในระยะเวลาสามปี เพื่อนำทัพบุกวุยก๊กเป็นครั้งที่ห้าและเลือกใช้เส้นทางเดินทัพเดิมคือหุบเขากิสาน ซึ่งการเลือกเส้นทางเดินทัพในครั้งนี้กลับเป็นผลร้ายแก่ขงเบ้ง เมื่อสุมาอี้นำกำลังทหารออกมาตั้งรับและสกัดดักจับตัวขงเบ้ง












ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น